ภาษาและการใช้งาน PHP

การเปิดปิดแท็ก PHP  (PHP Code Syntax)

รูปแบบแท็ก
เปิดแท็ก PHP
ปิดแท็ก PHP
แบบมาตรฐาน
<?php
?>
แบบสั้น
<?
?>
แบบ ASP
<%
%>
แบบ Script
<script  language="PHP">
</script>

 รูปแบบคำสั่ง  (PHP Statement)
<HTML>
<BODY>
  <?php
    echo "Hello, World!!”;
   ?>
</BODY>
</HTML>

 ตัวแปร  (Variables)
o      การประกาศตัวแปร
§       การประกาศตัวแปรเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย  $  (Dollar sign)
§       ชื่อตัวแปรต้องเริ่มต้นด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษหรือเครื่องหมายขีดล่าง (underscore "_")
§        ตัวอย่างการประกาศตัวแปรที่ถูกต้อง:
$total
$_cell1
$length_of_string
§        ตัวอย่างการประกาศตัวแปรที่ผิด:                      
total
$1_total
$2_length
o      การกำหนดค่าให้ตัวแปร
§       กำหนดค่าเป็นตัวเลข:
<?php
$total = 10;
?>
§       การกำหนดค่าเป็นข้อความ (string) ให้ใช้ quotes (") หรือ single quote ('):
<?php
$example1 = 'This is a single quoted string';
$example2 = "This is a double quoted string";
?>
§       ข้อแตกต่างระหว่าง quotes (") กับ single quote ('):
<php
$total = 10; 
$example1 = 'The total is $total';
$example2 = "The total is $total";
?>
ผลการกำหนดค่าให้ตัวแปร $example1:     "The total is $total"
ผลการกำหนดค่าให้ตัวแปร
 $example2:     "The total is 10"
§       การนำข้อความ (string) มาเชื่อมต่อกันโดยใช้จุด "." :
<php
$a = 'apples';
$b = 'bananas';
$c = '';                    
$c = $a . ' and ' . $b;
?>
ผลการกำหนดค่าให้ตัวแปร  $c:      "apples and bananas"
§       การนำข้อความ (string) มาเชื่อมต่อกันโดยใช้ ".=" :
<php
$a = 'apples';                      
$a .= ' and bananas';
?>

ผลการกำหนดค่าให้ตัวแปร  $a:      "apples and bananas"
อักขระต้องห้าม  (Escaping Characters)
Character
Escaped Character
Description
ไม่มี
\n
Adds a linefeed
ไม่มี
\r
Adds a carriage return
ไม่มี
\t
Adds a tab
\
\\
Backslash
$
\$
Dollar Sign
"
\"
Double Quote

 อาร์เรย์  (Arrays)
o       อาร์เรย์ คือ ตัวแปรชนิดหนึ่งที่สามารถเก็บค่าได้หลายค่าในเวลาเดียวกัน
§        การสร้างอาร์เรย์ให้เรียกใช้ฟังก์ชั่น array()
§        อาร์เรย์จะถูกชี้ตัวแหน่งโดยคีย์
§        การสร้างอาร์เรย์:
$shoppingList = array( 1 => "toothpaste", 2 => "sun cream", 3 => "band-aids");
§        การแสดงค่าจากอาร์เรย์:
echo "The third item in the shopping list is $shoppingList[3];"
ผลลัพธ์:           "The third item in the shopping list is band-aids"
คำสั่งควบคุม  (Control Structures)
o       if
if ($apples > $bananas) echo "You have more apples than bananas!";
o       if … else
if ($apples > $bananas) echo "You have more apples than bananas!";
else if ($apples == $bananas) echo "You have apples less than or equal to bananas!";
o       if … else if … else
if ($apples > $bananas) echo "You have more apples than bananas!";
else if ($apples == $bananas) echo "You have apples equal to bananas!";
else echo "You have less apples than bananas!";
ตัวดำเนินการ  (Operators)
Operator
ความหมาย
==
เท่ากับ (Equal to)
!=
ไม่เท่ากับ (Not equal to)
<> 
ไม่เท่ากับ (Not equal to)
< 
น้อยกว่า (Less than)
> 
มากกว่า (Greater than)
<=
น้อยกว่าหรือเท่ากับ (Less than or equal to)
>=
มากกว่าหรือเท่ากับ (Greater than or equal to)

การใช้คำสั่งควบคุมและตัวดำเนินการ  (Control Structures and Operators)
if ($apples > $bananas)
{
   echo "You have more apples than bananas, so I'm taking away your bananas!";
   $bananas = 0;
}

การวนลูปแบบ for  (for Loop)
o       การใช้ fore สำหรับการวนลูปค่าทั้งหมดอาร์เรย์
<?php
$arrayAmpur = array( "เมื่อง" , "บางกรวย" , "บางใหญ่" );
for ( $i = 0; $i < count($arrayAmpur); $i ++)
{
     echo " $i  :  " . $arrayAmpur[$i] . "<BR>";
}
?>
ผลลัพธ์:
0  :  เมื่อง
1  :  บางกรวย
2  :  บางใหญ่


 การวนลูปแบบ foreach  (foreach Loop)
o       การใช้ foreach สำหรับการวนลูปค่าทั้งหมดอาร์เรย์
<?php
$arrayAmpur = array( "1201" => "เมื่อง" , "1202" => "บางกรวย" );
foreach ( $arrayAmpur  as $kAmpur => $vAmpur)
{
     echo " $kAmpur  :  $vAmpur <BR>";
}
?>
ผลลัพธ์:
1201  :  เมื่อง
1202  :  บางกรวย

 การวนลูปแบบ while  (while Loop)
o       การใช้ while สำหรับการวนลูปค่าทั้งหมดจากตาราง employees ของฐานข้อมูล
<?php
$rs = mysql_query("SELECT  *  FROM  employees");
while ( $row_rs = mysql_fetch_array($rs) )
{
     echo "Employee ID: " . $row_rs['employeeid'] . "<BR>";
     echo "First Name: " . $row_rs['firstname'] . "<BR>";
     echo "Last Name: " . $row_rs['lastname'] . "<BR>";
}
?>
ผลลัพธ์:
Employee ID: 26
First Name: David
Last Name: Beckham

ฟังก์ชั่น  (Functions)
o       ฟังก์ชั่นของ PHP  (PHP Built-In Functions)
echo()                     เช่น         echo(" Hello, World ")
print()                      เช่น         print(" Hello, World ")
date()                      เช่น         date("Y-m-d H:i:s")
substr()                    เช่น         substr("ABCDEF" , 0 , 4)
strlen()                    เช่น         strlen("ABCDEFGH")
strpos()                    เช่น         strpos("ABCDEFGHI" , "DE")
strtoupper()             เช่น         strtolower("AbCdEfGh")
strtolower()             เช่น         strtolower("AbCdEfGh")
trim()                       เช่น         trim("  A B C   ")
explode()                                เช่น         explode("|" , "ABC|DEF|GHI")
list()                         เช่น         list($a , $b , $c) = explode("|" , "ABC|DEF|GHI")
sprintf()                   เช่น         sprintf("%01.2f" , 5.56)
o       ฟังก์ชั่นที่สร้างขึ้นเอง  (PHP User-Defined Functions)
§        รูปแบบการประกาศฟังก์ชั่น
 function  function_name ( argument )
 {
      statement;
      .....
 }
§        ฟังก์ชั่นสำหรับตรวจสอบความยาวของข้อมูล:
<?php
function check_length($data) {
     if (strlen($data) < 6)  return "The data was too small";
     else  return "That data was fine";
}
?>
หากพารามิเตอร์มีขนาดสั้นกว่า 6 ตัวอักษร   จะได้ผลลัพธ์:          "The data was too small"
หากพารามิเตอร์มีขนาดไม่สั้นกว่า 6 ตัวอักษร จะได้ผลลัพธ์:  " That data was fine"
§        ฟังก์ชั่นนี้สามารถเรียกใช้ได้จากที่ใดๆ ในไฟล์  PHP
<?php
$example = "qwertyuiop";
echo check_length($example);
?>

ขั้นตอนการสร้างฟอร์ม:
1.        เปิดโปรแกรม Dreamweaver MX คลิกเมนู  File > New  จะปรากฏไดอะล็อก  New Document  ขึ้นมา  ให้คลิกแท็บ  General   เลือก Dynamic Page > PHP   หลังจากนั้นคลิกปุ่ม  Create  บันทึกเป็นไฟล์  form.php
2.        ที่หน้าจอของเว็บเพจ  ให้คลิกเพื่อวางเคอร์เซอร์ในตำแหน่งที่ต้องการสร้างฟอร์ม  หลังจากนั้นคลิกที่เมนู 
Insert > Form > Form    ฟอร์มจะถูกแทรกลงในเว็บเพจ  หากอยู่ใน  Design View  จะเห็นขอบเขตของฟอร์มแสดงเป็นเส้นประสีแดง  (หากไม่มีเส้นประสีแสดงขึ้นมา  ให้คลิกที่เมนู 
 View > Visual Aids > Invisible Elements)


รูปแสดงเว็บเพจที่แทรกฟอร์ม
3.        คลิกวางตำแหน่งเคอร์เซอร์ลงภายในขอบเขตของฟอร์ม  หลังจากนั้นให้คลิกเลือกแท็ก  <form>  จาก Tag Selector  บริเวณขอบล่างซ้ายของเว็บเพจ     เมื่อปรากฏไดอะล็อก Properties  ช่อง Form Name  ให้กำหนดชื่อของฟอร์ม เท่ากับ  fmProcess  ชื่อของฟอร์มนี้จะถูกใช้เพื่ออ้างอิงในสคริปต์  PHP


รูปแสดง Property ของฟอร์ม
4.        ไดอะล็อก Properties  ช่อง Action  ให้กำหนดชื่อไฟล์ หรือ URL ของสคริปต์ที่จะใช้ในการประมวลผลฟอร์ม เท่ากับ  formprocess.php    (หากต้องการระบุเป็น URL  ให้พิมพ์เป็น   http://localhost/phpweb/formprocess.php)

5.        ไดอะล็อก Properties  ช่อง Method  ให้เลือกรูปแบบการส่งข้อมูลจากฟอร์มไปที่เว็บเซิร์ฟเวอร์  ซึ่งมีให้เลือก 3 รูปแบบ คือ
การทำงานของ METHOD:
·        POST      ส่งข้อมูลโดยส่งข้อมูลส่งไปกับ HTTP Request 
·        GET        ส่งข้อมูลโดยการแปะค่าเป็น URL Parameter (Query String) ไปกับ URL (ข้อมูลที่ส่งจะแสดงอยู่บน URL ของเว็บเบราเซอร์)
·        DEFAULT             ส่งข้อมูลโดยขึ้นอยู่กับค่า default ของเว็บเบราเซอร์  โดยปกติจะเป็นแบบ GET

NOTE: วิธีการส่งข้อมูลแบบ  GET  ไม่ควรใช้กับฟอร์มที่มีการส่งข้อมูลจำนวนมาก  รวมทั้งไม่ควรใช้ในการส่งข้อมูลที่เป็นความลับ เช่น  username,  password  หรือเลขที่บัตรเครดิต  เป็นต้น  เนื่องจากวิธีการส่งแบบ GET นี้  ข้อมูลที่เราส่งจะถูกแสดงบน URL  เช่น  http://localhost/phpweb/detail.php?empid=01020489

6.        ไดอะล็อก Properties  ช่อง  Enctype  ให้ระบุชนิดของการเข้ารหัสข้อมูล    โดยค่า default  ของ Enctype  จะเป็น  application/x-www-form-urlencode  ซึ่งจะถูกใช้ร่วมกับ method แบบ POST    หากใช้ฟอร์มในการอัปโหลดไฟล์  ให้เลือก Enctype เป็นแบบ  multipart/form-data 
7.        ไดอะล็อก Properties  ช่อง  Target  ให้พิมพ์ชื่อหน้าจอของเว็บเบราเซอร์ที่ต้องการแสดงผลลัพธ์ของฟอร์มหรือเลือกจากรายการที่กำหนดไว้ให้  หากเว็บเบราเซอร์ยังไม่มีชื่อหน้าจอที่ระบุ  เว็บเบราเซอร์จะสร้างหน้าจอชื่อที่ระบุขึ้นมาใหม่   ตัวเลือกที่กำหนดไว้ให้ในช่อง Target
การทำงานของ TARGET:
·        _blank           ผลลัพธ์ของฟอร์มจะแสดงที่หน้าจอเว็บเบราเซอร์ที่สร้างขึ้นมาใหม่
·        _parent          ผลลัพธ์ของฟอร์มจะแสดงที่หน้าจอหลัก (parent) ของหน้าจอเว็บเบราเซอร์ขณะนั้น
·        _self              ผลลัพธ์จะแสดงที่หน้าจอเว็บเบราเซอร์เดียวกับฟอร์ม
·        _top               ผลลัพธ์ของฟอร์มจะแสดงที่หน้าจอหลัก  ในกรณีที่หน้าจอเว็บเบราเซอร์แบ่งเป็นหลายเฟรม
8.        คลิกปุ่ม Code View      เพื่อเขียนโค้ด HTML ดังรูปด้านล่าง  หลังจากนั้นบันทึกไฟล์  form.php

<html>
<body>
<form action="formprocess.php" method="POST" name="fmProcess">
  ชื่อ: <input name="firstname" type="text" size="32" maxlength="30"> <br>
  นามสกุล: <input name="lastname" type="text" size="32" maxlength="30"> <br>
  <input name="btnSubmit" type="submit" value="บันทึก">
  <input name="btnReset" type="reset" value="ยกเลิก"
</form>
</body>
</html>
รูปแสดงโค้ดไฟล์ form.php
9.        เปิดโปรแกรม Dreamweaver MX คลิกเมนู  File > New  จะปรากฏไดอะล็อก  New Document  ขึ้นมา  ให้คลิกแท็บ  General   เลือก Dynamic Page > PHP   คลิกปุ่ม  Create        หลังจากนั้นให้เพื่อเขียนโค้ด PHP  ดังรูปด้านล่าง  บันทึกเป็นไฟล์ formprocess.php
<html>
<body>

<?php
echo "ชื่อ: " . $_POST['firstname'] . "<br>";
echo "นามสกุล: " . $_POST['lastname'] . "<br>";
?>

</body>
</html>
รูปแสดงโค้ดไฟล์ formprocess.php
10.     ทดสอบการทำงานของฟอร์ม  โดยเปิด Dreamweaver MX ไปที่หน้าจอไฟล์  form.php  หลังจากนั้นกดปุ่ม  F12   จะปรากฏหน้าจอ Internet Explorer เป็นแบบฟอร์มกรอกข้อมูล  ให้กรอกข้อมูล แล้วคลิกปุ่ม "บันทึก  ให้สังเกตผลลัพธ์การทำงานของเว็บเพจ

รูปแสดงการทำงานของไฟล์ form.php

รูปแสดงการทำงานของไฟล์ formprocess.php
11.     เปลี่ยน METHOD ของฟอร์มในไฟล์  form.php  จาก   METHOD="POST"  เป็น  METHOD="GET" 
12.     เปลี่ยนชื่อตัวแปรในไฟล์  formprocess.php  จาก  $_POST['firstname’]  เป็น  $_GET['firstname']   
และ
   $_POST['lastname']  เป็น  $_GET['lastname']

13.     ทดสอบการทำงานของฟอร์มใหม่อีกครั้ง   ให้สังเกตผลลัพธ์การทำงานของเว็บเพจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น