วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

คำสั่ง SQL

1.คำสั่ง CREATE TABLE
CREATE TABLE phonebook (id INT (4) NOT NULL
AUTO_INCREMENT, fname VARCHAR (35) , lname VARCHAR (35) ,
email VARCHAR (50) , office VARCHAR (200) , province CHAR (2) ,
PRIMARY KEY(id), UNIQUE(id), INDEX(id)) 
โดยทั่วไปขนาดของตารางข้อมูลหนึ่งๆ จะมีขนาดไม่เกิน 2G หรือ 4G ขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการ เราสามารถทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้อีกโดยการบีบอัด (PACK) ข้อมูลดัชนี ซึ่งสามารถให้บีบอัดโดยกำหนดค่า PACK_KEYS=1 การบีบอัดนี้จะทำให้การทำงานช้าลง แต่ก็ประหยัดเนื้อที่ขึ้น และตามปกติถ้าผู้ใช้ไม่ได้กำหนดให้บีบอัด ข้อมูลที่เป็นสตริงหรือตัวอักษรก็จะได้รับการบีบอัดข้อมูลอยู่แล้ว สำหรับข้อมูลตัวเลข ค่าการทำงานปกติจะไม่รับการบีบอัด เว้นแต่กำหนดการบีบอัดด้วยการใช้ UNION จะใช้กรณีที่ต้องการรวมตารางข้อมูลหลายๆ ตารางเข้าด้วยกันเป็นอันเดียว ซึ่งจะทำงานกับตารางประเภท MERGE เท่านั้น

2.คำสั่ง DROP TABLE
DROP TABLE phonebook
เป็นคำสั่งเพื่อให้ลบตารางข้อมูลออกจากระบบ สำหรับออปชัน RESTRICT และ CASCADE ยังไม่สามารถงานได้ในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นความสามารถที่มีแผนจะรองรับในอนาคต สำหรับการใช้คำสั่ง DROP  TABLE จะต้องให้ความระมัดระวังในการใช้งานเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการทำงานกับตารางข้อมูลประเภท nontransaction  เพราะจะทำการ commit การทำงานโดยอัตโนมัติ

3.คำสั่ง DELETE
DELETE FROM phonebook WHERE id=4
เป็นคำสั่งสำหรับลบข้อมูลจากตาราง โดยสามารถกำหนดเงื่อนไขสำหรับการลบได้ ซึ่งถ้าไม่ได้ระบุเงื่อนไข จะเป็นการลบข้อมูลทั้งหมดออกจากตาราง และถ้าอยู่ใน AUTOCOMMIT mode (กรณีปกติทั่วไป) จะไม่สามารถทำการยกเลิกการลบครั้งนี้ได้

4.คำสั่ง TRUNCATE
TRUNCATE phonebook
เป็นคำสั่งที่ให้ผลเช่นเดียวกับ DELETE FROM table_name แต่มีข้อแตกต่างดังนี้
- จะทำการดรอปตารางข้อมูลก่อน แล้วทำการสร้างใหม่ ซึ่งจะให้ผลที่เร็วกว่าการลบตารางทั้งหมด
- การทำงานเป็น non-transaction ไม่สามารถทำการยกเลิกได้

5.คำสั่ง SELECT
SELECT id, fname FROM phonebook ORDER BY fname DESC
เป็นคำสั่งสำหรับการแสดงผล หรือการดึงข้อมูลจากตาราง โดยสามารถกำหนดเงื่อนไข รูปแบบและวิธีการได้อย่างหลากหลาย การดึงข้อมูลสามารถระบุว่าจะเลือกจากตารางเดียว หรือหลายตารางก็ได้
การใช้ LIMIT rows ก็จะช่วยกำหนดให้ทำการดึงข้อมูลจากตาราง ได้ไม่เกินจำนวนแถว rows ที่ระบุ
การใช้คำสั่งคีย์เวิร์ดตามหลัง SELECT จะต้องใช้ให้ถูกต้อง มีบางคีย์เวิร์ดที่ต้องใช้เรียงลำดับกัน เช่น
HAVING clause ต้องใช้ตามหลัง GROUP BY clause และใช้ก่อน ORDER BY clause  เป็นต้น
ตามปกติหากไม่ได้ระบุวิธีการจัดเรียงข้อมูล ก็จะเป็นการเรียงจากน้อยไปมาก (Ascending) หรือ คีย์เวิร์ด  ASC แต่ถ้าต้องการเรียงจากมากไปน้อย (Descending) ให้ใช้คีย์เวิร์ด DESC
การใช้คีย์เวิร์ด HAVING จะใช้ในกรณีร่วมกับ GROUP BY ซึ่งก็เป็นการกำหนดเงื่อนไขในการดึงข้อมูล ด้วยคำสั่ง SELECT
SELECT id,fname FROM phonebook GROUP BY fname HAVING id>2

6.คำสั่ง FLUSH
FLUSH TABLES phonebook
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการลบหน่วยความจำภายใน (Internal Cache) ที่ใช้งาน ทั้งนี้การใช้คำสั่ง FLUSH  จะอนุญาตเฉพาะ user ที่มีสิทธิ์ (Privilege) เท่านั้น  Flush_option สามารถระบุได้ดังนี้
-HOSTS ทำการล้าง hose cache table เพื่อปรับปรุงข้อมูลของ host หรือ client ที่คอนเน็กเข้าใช้งาน ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลง IP address หรืออื่นๆ โดยเมื่อทำการ flush เรียบร้อยแล้ว ก็จะอนุญาตให้ host นั้นๆ ทำการคอนเน็กเข้ามาใหม่อีกครั้งหนึ่ง
-LOGS ปิดและเปิด log files ใหม่
-PRIVILEGES ทำการ reload สิทธิ์ต่างๆ ของ user จาก grant tables ของ MySQL Server
-TABLES ปิด tables ทั้งหมด หากตารางใดยังถูกเปิดอยู่ ก็จะถูก force ให้ปิดลง

7.คำสั่ง SHOW
SHOW DATABASES
เป็นคำสั่งสำหรับแสดงรายละเอียด (Information) ของ databases, tables, columns หรือ สถานะต่างๆของ Server แสดงรายละเอียดของ Databases, Tables, Columns และ Indexes
SHOW DATABASES แสดงรายชื่อ databases ทั้งหมดในระบบฐานข้อมูล
SHOW TABLES แสดงรายชื่อ tables ทั้งหมดของ current database
SHOW OPEN TABLES แสดงรายชื่อ tables ที่ถูกเปิดอยู่ในปัจจุบัน
SHOW COLUMNS แสดงรายละเอียดฟิลด์ทั้งหมดใน table นั้น (ให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกับคำสั่ง DESCRIBE)
SHOW FIELDS ให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกับ SHOW COLUMNS
SHOW INDEX แสดงรายละเอียดว่ามีดัชนีอะไรบ้างสำหรับ table นั้นๆ
SHOW KEYS ให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกับ SHOW INDEX

8.คำสั่ง GRANT และ REVOKE
GRANT ALL PRIVILEGES ON demo TO user1@localhost WITH GRANT OPTION
REVOKE ALL PRIVILEGES ON demo FROM user1@localhost
- คำสั่ง GRANT เป็นคำสั่งสำหรับการกำหนดสิทธิ์หรือความสามารถใดๆ ให้กับ user
- คำสั่ง REVOKE หรือคำสั่งที่ตรงกันข้ามกับ GRANT คือเป็นการถอนหรือยกเลิกสิทธิ์ใดๆ จาก user
การใช้คำสั่ง GRANT หรือ REVOKE จะอนุญาตเฉพาะผู้บริหารระบบในการกำหนดสิทธิ์ต่างๆ สำหรับผู้ใช้   MySQL จะแบ่งสิทธิ์ (Privilege) เป็น 4 ระดับ คือ
1. Global level
ระดับบนสุด ครอบคลุมทุก database รายละเอียดสำหรับสิทธิ์ของระดับนี้จะถูกเก็บไว้ในตาราง
mysql.user
2. Database level
ระดับ database ครอบคลุมเฉพาะใน database อันใดอันหนึ่ง เช่น ความสามารถในการกระทำใดๆ
ภายใน database นั้นๆ รายละเอียดสำหรับสิทธิ์ของระดับนี้ จะถูกเก็บไว้ในตาราง mysql.db และ mysql.host
3. Table level
ระดับ table ครอบคลุมเฉพาะภายในตารางนั้นๆ เช่น ความสามารถในการกระทำกับ table นั้นๆ
สามารถทำการ select, insert, delete, update ได้หรือไม่ เป็นต้น รายละเอียดสำหรับสิทธิ์ของระดับนี้ จะถูกเก็บอยู่ในตาราง mysql.tables_priv
4. Column level
ระดับ column ครอบคลุมเฉพาะฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่งภายในตารางข้อมูล รายละเอียดสำหรับสิทธิ์ของระดับนี้ จะถูกเก็บอยู่ในตาราง mysql.columns_priv

9.คำสั่ง INSERT
INSERT INTO phonebook (id, fname, lname, email, office, province)
VALUES (6, 'sineenat', 'phradmali', 'sineenat@health.moph.go.th', 'ศทส.', '12')
เป็นคำสั่งสำหรับการเพิ่มแถวข้อมูล หรือระเบียนใหม่เข้าตารางข้อมูล

10.คำสั่ง ALTER TABLE
ALTER TABLE phonebook ADD tel VARCHAR(30)
ALTER TABLE เป็นคำสั่งสำหรับการปรับเปลี่ยนแก้ไขโครงสร้างของตารางข้อมูล เช่น การเพิ่ม-ลบฟิลด์, การสร้าง-ลบดัชนี, การเปลี่ยนประเภทข้อมูลของฟิลด์, การเปลี่ยนชื่อฟิลด์ เป็นต้น

ที่มา : file:///C:/Users/ADV-CT/Downloads/CH07_BasicMySQL.pdf
https://sites.google.com/site/dotpython/bth-thi-8/8-3-kha-sang-sql-beuxng-tn
https://sites.google.com/site/dotpython/bth-thi-8/8-4-kha-sang-sahrab-kar-cadkar-khxmul

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ข้อสอบ O-net

1.  หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในระบบคอมพิวเตอร์เรียกว่า
ก.  บิต    ( 1 กับ 0)            
ข.
  ไบต์
ค. ฟิลด์                            
ง.  เร็คคอร์ด
จ. ไฟล์

2.  IP Address คือ
ก.  หมายเลยประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่าย
ข.  โพรโทคอลที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ค.  หมายเลขประจำของเครื่องเซิร์ฟเวอร์
ง.  ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต
จ. ถูกทุกข้อ

3.   s15550036@student.rit.ac.th  ข้อความ “s1555036” หมายถึงข้อใด
ก.  Domain Name            
ข.  Password
ค.  Sub Domain           
ง.
  Username    
จ.  ISP

4. ไฟล์ที่ถูกบีบอัดด้วยโปรแกรม WinZip จะมีส่วนขยายหรือนามสกุลไฟล์ตามข้อใด
ก.  .doc               
ข.
  .zip  
ค.  .com               
ง.
  .txt
จ.  .exe

5. ข้อใดจัดเป็นโปรแกรม DBMS
ก.  โปรแกรมภาษาโคบอล            
ข.
  โปรแกรมภาษาปาสคาล
ค.  โปรแกรมภาษาเบสิค               
ง.
 โปรแกรมภาษาซี
จ.  โปรแกรม SQL

6. ทำไมจึงมีการใช้งานระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สายเพิ่มมากขึ้นในประเทศ ที่กำลังพัฒนา
1. อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายมีราคาถูก
2. หาซื้ออุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายได้ง่าย
3. ใช้งบลงทุนสูงในการวางสายระบบเครือข่ายสื่อสาร
4. สะดวกในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายการสื่อสาร

7. ข้อใดเป็นระบบปฏิบัติการทั้งหมด
1. Unix , Mac OS , Microsoft Office
2. Linux , Windows , Mac OS , Symbian
3. PDA , WWW , Linux , Windows
4. BIOS , Symbian , IPX , RAM

8. ความละเอียดของจอภาพสามารถบอกได้ด้วยปัจจัยในข้อใด
1. CRT
2. Dot pitch
3. Refresh rate
4. Color quality


9. สื่อกลางที่ใช้ มากในการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายแลนคือข้อใด
1. สายคู่บิดเกลียว
2. สายโคแอกเชียล
3. สายเส้นใยนำแสง
4. สายโทรศัพท์

10. ข้อใดคือการสั่งซื้อสินค้าและบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1.
 E-News
2.
 E-Payment
3.
 E-Learning
4.
 E-Sourcing


ที่มา : http://forum.02dual.com/examfile/334topic/06Art50.pdf

วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ภาษาและการใช้งาน PHP

การเปิดปิดแท็ก PHP  (PHP Code Syntax)

รูปแบบแท็ก
เปิดแท็ก PHP
ปิดแท็ก PHP
แบบมาตรฐาน
<?php
?>
แบบสั้น
<?
?>
แบบ ASP
<%
%>
แบบ Script
<script  language="PHP">
</script>

 รูปแบบคำสั่ง  (PHP Statement)
<HTML>
<BODY>
  <?php
    echo "Hello, World!!”;
   ?>
</BODY>
</HTML>

 ตัวแปร  (Variables)
o      การประกาศตัวแปร
§       การประกาศตัวแปรเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย  $  (Dollar sign)
§       ชื่อตัวแปรต้องเริ่มต้นด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษหรือเครื่องหมายขีดล่าง (underscore "_")
§        ตัวอย่างการประกาศตัวแปรที่ถูกต้อง:
$total
$_cell1
$length_of_string
§        ตัวอย่างการประกาศตัวแปรที่ผิด:                      
total
$1_total
$2_length
o      การกำหนดค่าให้ตัวแปร
§       กำหนดค่าเป็นตัวเลข:
<?php
$total = 10;
?>
§       การกำหนดค่าเป็นข้อความ (string) ให้ใช้ quotes (") หรือ single quote ('):
<?php
$example1 = 'This is a single quoted string';
$example2 = "This is a double quoted string";
?>
§       ข้อแตกต่างระหว่าง quotes (") กับ single quote ('):
<php
$total = 10; 
$example1 = 'The total is $total';
$example2 = "The total is $total";
?>
ผลการกำหนดค่าให้ตัวแปร $example1:     "The total is $total"
ผลการกำหนดค่าให้ตัวแปร
 $example2:     "The total is 10"
§       การนำข้อความ (string) มาเชื่อมต่อกันโดยใช้จุด "." :
<php
$a = 'apples';
$b = 'bananas';
$c = '';                    
$c = $a . ' and ' . $b;
?>
ผลการกำหนดค่าให้ตัวแปร  $c:      "apples and bananas"
§       การนำข้อความ (string) มาเชื่อมต่อกันโดยใช้ ".=" :
<php
$a = 'apples';                      
$a .= ' and bananas';
?>

ผลการกำหนดค่าให้ตัวแปร  $a:      "apples and bananas"
อักขระต้องห้าม  (Escaping Characters)
Character
Escaped Character
Description
ไม่มี
\n
Adds a linefeed
ไม่มี
\r
Adds a carriage return
ไม่มี
\t
Adds a tab
\
\\
Backslash
$
\$
Dollar Sign
"
\"
Double Quote

 อาร์เรย์  (Arrays)
o       อาร์เรย์ คือ ตัวแปรชนิดหนึ่งที่สามารถเก็บค่าได้หลายค่าในเวลาเดียวกัน
§        การสร้างอาร์เรย์ให้เรียกใช้ฟังก์ชั่น array()
§        อาร์เรย์จะถูกชี้ตัวแหน่งโดยคีย์
§        การสร้างอาร์เรย์:
$shoppingList = array( 1 => "toothpaste", 2 => "sun cream", 3 => "band-aids");
§        การแสดงค่าจากอาร์เรย์:
echo "The third item in the shopping list is $shoppingList[3];"
ผลลัพธ์:           "The third item in the shopping list is band-aids"
คำสั่งควบคุม  (Control Structures)
o       if
if ($apples > $bananas) echo "You have more apples than bananas!";
o       if … else
if ($apples > $bananas) echo "You have more apples than bananas!";
else if ($apples == $bananas) echo "You have apples less than or equal to bananas!";
o       if … else if … else
if ($apples > $bananas) echo "You have more apples than bananas!";
else if ($apples == $bananas) echo "You have apples equal to bananas!";
else echo "You have less apples than bananas!";
ตัวดำเนินการ  (Operators)
Operator
ความหมาย
==
เท่ากับ (Equal to)
!=
ไม่เท่ากับ (Not equal to)
<> 
ไม่เท่ากับ (Not equal to)
< 
น้อยกว่า (Less than)
> 
มากกว่า (Greater than)
<=
น้อยกว่าหรือเท่ากับ (Less than or equal to)
>=
มากกว่าหรือเท่ากับ (Greater than or equal to)

การใช้คำสั่งควบคุมและตัวดำเนินการ  (Control Structures and Operators)
if ($apples > $bananas)
{
   echo "You have more apples than bananas, so I'm taking away your bananas!";
   $bananas = 0;
}

การวนลูปแบบ for  (for Loop)
o       การใช้ fore สำหรับการวนลูปค่าทั้งหมดอาร์เรย์
<?php
$arrayAmpur = array( "เมื่อง" , "บางกรวย" , "บางใหญ่" );
for ( $i = 0; $i < count($arrayAmpur); $i ++)
{
     echo " $i  :  " . $arrayAmpur[$i] . "<BR>";
}
?>
ผลลัพธ์:
0  :  เมื่อง
1  :  บางกรวย
2  :  บางใหญ่


 การวนลูปแบบ foreach  (foreach Loop)
o       การใช้ foreach สำหรับการวนลูปค่าทั้งหมดอาร์เรย์
<?php
$arrayAmpur = array( "1201" => "เมื่อง" , "1202" => "บางกรวย" );
foreach ( $arrayAmpur  as $kAmpur => $vAmpur)
{
     echo " $kAmpur  :  $vAmpur <BR>";
}
?>
ผลลัพธ์:
1201  :  เมื่อง
1202  :  บางกรวย

 การวนลูปแบบ while  (while Loop)
o       การใช้ while สำหรับการวนลูปค่าทั้งหมดจากตาราง employees ของฐานข้อมูล
<?php
$rs = mysql_query("SELECT  *  FROM  employees");
while ( $row_rs = mysql_fetch_array($rs) )
{
     echo "Employee ID: " . $row_rs['employeeid'] . "<BR>";
     echo "First Name: " . $row_rs['firstname'] . "<BR>";
     echo "Last Name: " . $row_rs['lastname'] . "<BR>";
}
?>
ผลลัพธ์:
Employee ID: 26
First Name: David
Last Name: Beckham

ฟังก์ชั่น  (Functions)
o       ฟังก์ชั่นของ PHP  (PHP Built-In Functions)
echo()                     เช่น         echo(" Hello, World ")
print()                      เช่น         print(" Hello, World ")
date()                      เช่น         date("Y-m-d H:i:s")
substr()                    เช่น         substr("ABCDEF" , 0 , 4)
strlen()                    เช่น         strlen("ABCDEFGH")
strpos()                    เช่น         strpos("ABCDEFGHI" , "DE")
strtoupper()             เช่น         strtolower("AbCdEfGh")
strtolower()             เช่น         strtolower("AbCdEfGh")
trim()                       เช่น         trim("  A B C   ")
explode()                                เช่น         explode("|" , "ABC|DEF|GHI")
list()                         เช่น         list($a , $b , $c) = explode("|" , "ABC|DEF|GHI")
sprintf()                   เช่น         sprintf("%01.2f" , 5.56)
o       ฟังก์ชั่นที่สร้างขึ้นเอง  (PHP User-Defined Functions)
§        รูปแบบการประกาศฟังก์ชั่น
 function  function_name ( argument )
 {
      statement;
      .....
 }
§        ฟังก์ชั่นสำหรับตรวจสอบความยาวของข้อมูล:
<?php
function check_length($data) {
     if (strlen($data) < 6)  return "The data was too small";
     else  return "That data was fine";
}
?>
หากพารามิเตอร์มีขนาดสั้นกว่า 6 ตัวอักษร   จะได้ผลลัพธ์:          "The data was too small"
หากพารามิเตอร์มีขนาดไม่สั้นกว่า 6 ตัวอักษร จะได้ผลลัพธ์:  " That data was fine"
§        ฟังก์ชั่นนี้สามารถเรียกใช้ได้จากที่ใดๆ ในไฟล์  PHP
<?php
$example = "qwertyuiop";
echo check_length($example);
?>

ขั้นตอนการสร้างฟอร์ม:
1.        เปิดโปรแกรม Dreamweaver MX คลิกเมนู  File > New  จะปรากฏไดอะล็อก  New Document  ขึ้นมา  ให้คลิกแท็บ  General   เลือก Dynamic Page > PHP   หลังจากนั้นคลิกปุ่ม  Create  บันทึกเป็นไฟล์  form.php
2.        ที่หน้าจอของเว็บเพจ  ให้คลิกเพื่อวางเคอร์เซอร์ในตำแหน่งที่ต้องการสร้างฟอร์ม  หลังจากนั้นคลิกที่เมนู 
Insert > Form > Form    ฟอร์มจะถูกแทรกลงในเว็บเพจ  หากอยู่ใน  Design View  จะเห็นขอบเขตของฟอร์มแสดงเป็นเส้นประสีแดง  (หากไม่มีเส้นประสีแสดงขึ้นมา  ให้คลิกที่เมนู 
 View > Visual Aids > Invisible Elements)


รูปแสดงเว็บเพจที่แทรกฟอร์ม
3.        คลิกวางตำแหน่งเคอร์เซอร์ลงภายในขอบเขตของฟอร์ม  หลังจากนั้นให้คลิกเลือกแท็ก  <form>  จาก Tag Selector  บริเวณขอบล่างซ้ายของเว็บเพจ     เมื่อปรากฏไดอะล็อก Properties  ช่อง Form Name  ให้กำหนดชื่อของฟอร์ม เท่ากับ  fmProcess  ชื่อของฟอร์มนี้จะถูกใช้เพื่ออ้างอิงในสคริปต์  PHP


รูปแสดง Property ของฟอร์ม
4.        ไดอะล็อก Properties  ช่อง Action  ให้กำหนดชื่อไฟล์ หรือ URL ของสคริปต์ที่จะใช้ในการประมวลผลฟอร์ม เท่ากับ  formprocess.php    (หากต้องการระบุเป็น URL  ให้พิมพ์เป็น   http://localhost/phpweb/formprocess.php)

5.        ไดอะล็อก Properties  ช่อง Method  ให้เลือกรูปแบบการส่งข้อมูลจากฟอร์มไปที่เว็บเซิร์ฟเวอร์  ซึ่งมีให้เลือก 3 รูปแบบ คือ
การทำงานของ METHOD:
·        POST      ส่งข้อมูลโดยส่งข้อมูลส่งไปกับ HTTP Request 
·        GET        ส่งข้อมูลโดยการแปะค่าเป็น URL Parameter (Query String) ไปกับ URL (ข้อมูลที่ส่งจะแสดงอยู่บน URL ของเว็บเบราเซอร์)
·        DEFAULT             ส่งข้อมูลโดยขึ้นอยู่กับค่า default ของเว็บเบราเซอร์  โดยปกติจะเป็นแบบ GET

NOTE: วิธีการส่งข้อมูลแบบ  GET  ไม่ควรใช้กับฟอร์มที่มีการส่งข้อมูลจำนวนมาก  รวมทั้งไม่ควรใช้ในการส่งข้อมูลที่เป็นความลับ เช่น  username,  password  หรือเลขที่บัตรเครดิต  เป็นต้น  เนื่องจากวิธีการส่งแบบ GET นี้  ข้อมูลที่เราส่งจะถูกแสดงบน URL  เช่น  http://localhost/phpweb/detail.php?empid=01020489

6.        ไดอะล็อก Properties  ช่อง  Enctype  ให้ระบุชนิดของการเข้ารหัสข้อมูล    โดยค่า default  ของ Enctype  จะเป็น  application/x-www-form-urlencode  ซึ่งจะถูกใช้ร่วมกับ method แบบ POST    หากใช้ฟอร์มในการอัปโหลดไฟล์  ให้เลือก Enctype เป็นแบบ  multipart/form-data 
7.        ไดอะล็อก Properties  ช่อง  Target  ให้พิมพ์ชื่อหน้าจอของเว็บเบราเซอร์ที่ต้องการแสดงผลลัพธ์ของฟอร์มหรือเลือกจากรายการที่กำหนดไว้ให้  หากเว็บเบราเซอร์ยังไม่มีชื่อหน้าจอที่ระบุ  เว็บเบราเซอร์จะสร้างหน้าจอชื่อที่ระบุขึ้นมาใหม่   ตัวเลือกที่กำหนดไว้ให้ในช่อง Target
การทำงานของ TARGET:
·        _blank           ผลลัพธ์ของฟอร์มจะแสดงที่หน้าจอเว็บเบราเซอร์ที่สร้างขึ้นมาใหม่
·        _parent          ผลลัพธ์ของฟอร์มจะแสดงที่หน้าจอหลัก (parent) ของหน้าจอเว็บเบราเซอร์ขณะนั้น
·        _self              ผลลัพธ์จะแสดงที่หน้าจอเว็บเบราเซอร์เดียวกับฟอร์ม
·        _top               ผลลัพธ์ของฟอร์มจะแสดงที่หน้าจอหลัก  ในกรณีที่หน้าจอเว็บเบราเซอร์แบ่งเป็นหลายเฟรม
8.        คลิกปุ่ม Code View      เพื่อเขียนโค้ด HTML ดังรูปด้านล่าง  หลังจากนั้นบันทึกไฟล์  form.php

<html>
<body>
<form action="formprocess.php" method="POST" name="fmProcess">
  ชื่อ: <input name="firstname" type="text" size="32" maxlength="30"> <br>
  นามสกุล: <input name="lastname" type="text" size="32" maxlength="30"> <br>
  <input name="btnSubmit" type="submit" value="บันทึก">
  <input name="btnReset" type="reset" value="ยกเลิก"
</form>
</body>
</html>
รูปแสดงโค้ดไฟล์ form.php
9.        เปิดโปรแกรม Dreamweaver MX คลิกเมนู  File > New  จะปรากฏไดอะล็อก  New Document  ขึ้นมา  ให้คลิกแท็บ  General   เลือก Dynamic Page > PHP   คลิกปุ่ม  Create        หลังจากนั้นให้เพื่อเขียนโค้ด PHP  ดังรูปด้านล่าง  บันทึกเป็นไฟล์ formprocess.php
<html>
<body>

<?php
echo "ชื่อ: " . $_POST['firstname'] . "<br>";
echo "นามสกุล: " . $_POST['lastname'] . "<br>";
?>

</body>
</html>
รูปแสดงโค้ดไฟล์ formprocess.php
10.     ทดสอบการทำงานของฟอร์ม  โดยเปิด Dreamweaver MX ไปที่หน้าจอไฟล์  form.php  หลังจากนั้นกดปุ่ม  F12   จะปรากฏหน้าจอ Internet Explorer เป็นแบบฟอร์มกรอกข้อมูล  ให้กรอกข้อมูล แล้วคลิกปุ่ม "บันทึก  ให้สังเกตผลลัพธ์การทำงานของเว็บเพจ

รูปแสดงการทำงานของไฟล์ form.php

รูปแสดงการทำงานของไฟล์ formprocess.php
11.     เปลี่ยน METHOD ของฟอร์มในไฟล์  form.php  จาก   METHOD="POST"  เป็น  METHOD="GET" 
12.     เปลี่ยนชื่อตัวแปรในไฟล์  formprocess.php  จาก  $_POST['firstname’]  เป็น  $_GET['firstname']   
และ
   $_POST['lastname']  เป็น  $_GET['lastname']

13.     ทดสอบการทำงานของฟอร์มใหม่อีกครั้ง   ให้สังเกตผลลัพธ์การทำงานของเว็บเพจ