คำสั่ง SQL

1.คำสั่ง CREATE TABLE
CREATE TABLE phonebook (id INT (4) NOT NULL
AUTO_INCREMENT, fname VARCHAR (35) , lname VARCHAR (35) ,
email VARCHAR (50) , office VARCHAR (200) , province CHAR (2) ,
PRIMARY KEY(id), UNIQUE(id), INDEX(id)) 
โดยทั่วไปขนาดของตารางข้อมูลหนึ่งๆ จะมีขนาดไม่เกิน 2G หรือ 4G ขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการ เราสามารถทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้อีกโดยการบีบอัด (PACK) ข้อมูลดัชนี ซึ่งสามารถให้บีบอัดโดยกำหนดค่า PACK_KEYS=1 การบีบอัดนี้จะทำให้การทำงานช้าลง แต่ก็ประหยัดเนื้อที่ขึ้น และตามปกติถ้าผู้ใช้ไม่ได้กำหนดให้บีบอัด ข้อมูลที่เป็นสตริงหรือตัวอักษรก็จะได้รับการบีบอัดข้อมูลอยู่แล้ว สำหรับข้อมูลตัวเลข ค่าการทำงานปกติจะไม่รับการบีบอัด เว้นแต่กำหนดการบีบอัดด้วยการใช้ UNION จะใช้กรณีที่ต้องการรวมตารางข้อมูลหลายๆ ตารางเข้าด้วยกันเป็นอันเดียว ซึ่งจะทำงานกับตารางประเภท MERGE เท่านั้น

2.คำสั่ง DROP TABLE
DROP TABLE phonebook
เป็นคำสั่งเพื่อให้ลบตารางข้อมูลออกจากระบบ สำหรับออปชัน RESTRICT และ CASCADE ยังไม่สามารถงานได้ในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นความสามารถที่มีแผนจะรองรับในอนาคต สำหรับการใช้คำสั่ง DROP  TABLE จะต้องให้ความระมัดระวังในการใช้งานเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการทำงานกับตารางข้อมูลประเภท nontransaction  เพราะจะทำการ commit การทำงานโดยอัตโนมัติ

3.คำสั่ง DELETE
DELETE FROM phonebook WHERE id=4
เป็นคำสั่งสำหรับลบข้อมูลจากตาราง โดยสามารถกำหนดเงื่อนไขสำหรับการลบได้ ซึ่งถ้าไม่ได้ระบุเงื่อนไข จะเป็นการลบข้อมูลทั้งหมดออกจากตาราง และถ้าอยู่ใน AUTOCOMMIT mode (กรณีปกติทั่วไป) จะไม่สามารถทำการยกเลิกการลบครั้งนี้ได้

4.คำสั่ง TRUNCATE
TRUNCATE phonebook
เป็นคำสั่งที่ให้ผลเช่นเดียวกับ DELETE FROM table_name แต่มีข้อแตกต่างดังนี้
จะทำการดรอปตารางข้อมูลก่อน แล้วทำการสร้างใหม่ ซึ่งจะให้ผลที่เร็วกว่าการลบตารางทั้งหมด
การทำงานเป็น non-transaction ไม่สามารถทำการยกเลิกได้

5.คำสั่ง SELECT
SELECT id, fname FROM phonebook ORDER BY fname DESC
เป็นคำสั่งสำหรับการแสดงผล หรือการดึงข้อมูลจากตาราง โดยสามารถกำหนดเงื่อนไข รูปแบบและวิธีการได้อย่างหลากหลาย การดึงข้อมูลสามารถระบุว่าจะเลือกจากตารางเดียว หรือหลายตารางก็ได้
การใช้ LIMIT rows ก็จะช่วยกำหนดให้ทำการดึงข้อมูลจากตาราง ได้ไม่เกินจำนวนแถว rows ที่ระบุ
การใช้คำสั่งคีย์เวิร์ดตามหลัง SELECT จะต้องใช้ให้ถูกต้อง มีบางคีย์เวิร์ดที่ต้องใช้เรียงลำดับกัน เช่น
HAVING clause ต้องใช้ตามหลัง GROUP BY clause และใช้ก่อน ORDER BY clause  เป็นต้น
ตามปกติหากไม่ได้ระบุวิธีการจัดเรียงข้อมูล ก็จะเป็นการเรียงจากน้อยไปมาก (Ascending) หรือ คีย์เวิร์ด  ASC แต่ถ้าต้องการเรียงจากมากไปน้อย (Descending) ให้ใช้คีย์เวิร์ด DESC
การใช้คีย์เวิร์ด HAVING จะใช้ในกรณีร่วมกับ GROUP BY ซึ่งก็เป็นการกำหนดเงื่อนไขในการดึงข้อมูล ด้วยคำสั่ง SELECT
SELECT id,fname FROM phonebook GROUP BY fname HAVING id>2

6.คำสั่ง FLUSH
FLUSH TABLES phonebook
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการลบหน่วยความจำภายใน (Internal Cache) ที่ใช้งาน ทั้งนี้การใช้คำสั่ง FLUSH  จะอนุญาตเฉพาะ user ที่มีสิทธิ์ (Privilege) เท่านั้น  Flush_option สามารถระบุได้ดังนี้
-HOSTS ทำการล้าง hose cache table เพื่อปรับปรุงข้อมูลของ host หรือ client ที่คอนเน็กเข้าใช้งาน ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลง IP address หรืออื่นๆ โดยเมื่อทำการ flush เรียบร้อยแล้ว ก็จะอนุญาตให้ host นั้นๆ ทำการคอนเน็กเข้ามาใหม่อีกครั้งหนึ่ง
-LOGS ปิดและเปิด log files ใหม่
-PRIVILEGES ทำการ reload สิทธิ์ต่างๆ ของ user จาก grant tables ของ MySQL Server
-TABLES ปิด tables ทั้งหมด หากตารางใดยังถูกเปิดอยู่ ก็จะถูก force ให้ปิดลง

7.คำสั่ง SHOW
SHOW DATABASES
เป็นคำสั่งสำหรับแสดงรายละเอียด (Information) ของ databases, tables, columns หรือ สถานะต่างๆของ Server แสดงรายละเอียดของ Databases, Tables, Columns และ Indexes
SHOW DATABASES แสดงรายชื่อ databases ทั้งหมดในระบบฐานข้อมูล
SHOW TABLES แสดงรายชื่อ tables ทั้งหมดของ current database
SHOW OPEN TABLES แสดงรายชื่อ tables ที่ถูกเปิดอยู่ในปัจจุบัน
SHOW COLUMNS แสดงรายละเอียดฟิลด์ทั้งหมดใน table นั้น (ให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกับคำสั่ง DESCRIBE)
SHOW FIELDS ให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกับ SHOW COLUMNS
SHOW INDEX แสดงรายละเอียดว่ามีดัชนีอะไรบ้างสำหรับ table นั้นๆ
SHOW KEYS ให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกับ SHOW INDEX

8.คำสั่ง GRANT และ REVOKE
GRANT ALL PRIVILEGES ON demo TO user1@localhost WITH GRANT OPTION
REVOKE ALL PRIVILEGES ON demo FROM user1@localhost
คำสั่ง GRANT เป็นคำสั่งสำหรับการกำหนดสิทธิ์หรือความสามารถใดๆ ให้กับ user
คำสั่ง REVOKE หรือคำสั่งที่ตรงกันข้ามกับ GRANT คือเป็นการถอนหรือยกเลิกสิทธิ์ใดๆ จาก user
การใช้คำสั่ง GRANT หรือ REVOKE จะอนุญาตเฉพาะผู้บริหารระบบในการกำหนดสิทธิ์ต่างๆ สำหรับผู้ใช้   MySQL จะแบ่งสิทธิ์ (Privilege) เป็น 4 ระดับ คือ
1. Global level
ระดับบนสุด ครอบคลุมทุก database รายละเอียดสำหรับสิทธิ์ของระดับนี้จะถูกเก็บไว้ในตาราง
mysql.user
2. Database level
ระดับ database ครอบคลุมเฉพาะใน database อันใดอันหนึ่ง เช่น ความสามารถในการกระทำใดๆ
ภายใน database นั้นๆ รายละเอียดสำหรับสิทธิ์ของระดับนี้ จะถูกเก็บไว้ในตาราง mysql.db และ mysql.host
3. Table level
ระดับ table ครอบคลุมเฉพาะภายในตารางนั้นๆ เช่น ความสามารถในการกระทำกับ table นั้นๆ
สามารถทำการ select, insert, delete, update ได้หรือไม่ เป็นต้น รายละเอียดสำหรับสิทธิ์ของระดับนี้ จะถูกเก็บอยู่ในตาราง mysql.tables_priv
4. Column level
ระดับ column ครอบคลุมเฉพาะฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่งภายในตารางข้อมูล รายละเอียดสำหรับสิทธิ์ของระดับนี้ จะถูกเก็บอยู่ในตาราง mysql.columns_priv

9.คำสั่ง INSERT
INSERT INTO phonebook (id, fname, lname, email, office, province)
VALUES (6, 'sineenat', 'phradmali', 'sineenat@health.moph.go.th', 'ศทส.', '12')
เป็นคำสั่งสำหรับการเพิ่มแถวข้อมูล หรือระเบียนใหม่เข้าตารางข้อมูล

10.คำสั่ง ALTER TABLE
ALTER TABLE phonebook ADD tel VARCHAR(30)
ALTER TABLE เป็นคำสั่งสำหรับการปรับเปลี่ยนแก้ไขโครงสร้างของตารางข้อมูล เช่น การเพิ่ม-ลบฟิลด์การสร้าง-ลบดัชนีการเปลี่ยนประเภทข้อมูลของฟิลด์การเปลี่ยนชื่อฟิลด์ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น